กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุราษฎร์ธานี
นายบุญเรือง หลงละลวด
หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ภารกิจและหน้าที่รับผิดชอบ

อำนาจหน้าที่ 
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุราษฎร์ธานี

     กฏกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2551 ให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีภารกิจเกี่ยวกับการจัดทำ
แผนแม่บท วางมาตรการ ส่งเสริมสนับสนุน การป้องกัน บรรเทา ฟื้นฟูหลังเกิดภัยและการติดตามประเมินผล
เพื่อให้หลักประกันในด้านความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(1) ดำเนินการจัดทำนโยบาย แนวทาง และวางมาตรการในการป้องกันและบรรเทาสาธารภัย
(2) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และพัฒนาระบบป้องกัน เตือนภัย และบรรเทาสาธารณภัย
(3) พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการป้องกัน เตือนภัย และบรรเทาสาธารณภัย
(4) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างเครือข่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(5) สร้างความตระหนักและเตรียมความพร้อมของประชาชนในการป้องกันและบรรเทาสาธาณภัย
(6) ฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติในการป้องกัน บรรเทาสาธารณภัย การช่วยเหลือผู้ประสบภัย และฟื้นฟูสภาพพื้นที่ 
ทั้งนี้ ตามระเบียบที่กฎหมายกำหนด
(7) ส่งเสริม สนับสนุน และปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย และ ฟื้นฟูสภาพพื้นที่
(8) อำนวนการและประสานการปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย และฟื้นฟูบูรณะ
สภาพพื้นที่ที่ประสบสาธารณภัยขนาดใหญ่
(9) ประสานความช่วยเหลือในการป้องกัน การช่วยเหลือ การบรรเทาและฟื้นฟูหน่วยงานาทั้งภายใน
และภายนอกประเทศ
(10) ดำเนินการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่กระทรวง
หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

และให้แบ่งส่วนราชการกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ดังต่อไปนี้

          ก. ราชการบริหารส่วนกลาง
1. สำนักเลขานุการกรม
2. กองการเจ้าหน้าที่
3. กองคลัง
4. ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 1 - 18
5. ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย
6. สำนักช่วยเหลือผู้ประสบภัย 
7. สำนักนโยบายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
8. สำนักมาตรการป้องกันสาธารณภัย
9. สำนักส่งเสริมการป้องกันสาธารณภัย

          ข. ราชการบริหารส่วนภูมิภาค
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) ดำเนินการเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของกรมในพื้นที่ ระดับจังหวัด
(2) กำกับ ดูแล และสนับสนุนการปฏิบัติงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในจังหวัด
(3)ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย


สำนักงานป้องกันและบรรเทาสารธารณภัยจังหวัดสุราษฎร์ธานี แบ่งออกเป็น 1 กลุ่ม 2 ฝ่าย ดังนี้

1.กลุ่มงานยุทธศาสตร์และการจัดการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ 
         1.1 ประสานให้คำปรึกษาและแนะนำทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการนำนโยบายและยุทธศาสตร์ระดับประเทศ กระทรวง กรม แปลงไปสู่การปฏิบัติระดับกลุ่มจังหวัด จังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวมทั้งติดตามประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ในพื้นที่รับผิดชอบ
         1.2 จัดทำแผนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด แผนการเผชิญเหตุแผนฝึกซ้อมป้องกันภัยและอพยพ
ประชาชนจากพื้นที่เสี่ยงภัย ให้เป็นไปตามระเบียบและกฎหมายกำหนด
         1.3 วิเคราะห์ใช้ประโยชน์ข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลเครือข่ายและฐานข้อมูลด้านสาธารณภัยรวมทั้งบริหารจัดการระบบเทคโนโลยี สารสนเทศของหน่วยงาน
         1.4 ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการและกรรมการการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติระดับจังหวัด(ก.ช.ภ.จ) และติดตามประเมินผลการการดำเนิน
งานของคณะกรรมการการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติระดับอำเภอ(ก.ช.ภ.อ)
         1.5 ทำหน้าฝ่ายเลขานุการศุนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนระดับจังหวัด
         1.6 สนับสนุน บริหารงบกลาง และเงินทดรองราชการในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด รวมถึงการตรวจสอบความถูกต้องของ
เอกสารหลักฐาน ใบสำคัญ การขอโอนเงินชดใช้เงินทดรองราชการในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอให้เป็นไปตามระเบียบ
และหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด
         1.7 ปฎิบัติงานบริการทั่วไป งานสารบรรณ งานงบประมาณ งานการเงินและบัญชี งานการเจ้าหน้าที่ งานพัฒนาระบบราชการ งานวินัย
งานอาคารสถานที่ ยานพาหนะ พัสดุครุภัณฑ์ งานเรื่องราวร้องทุกข์ งานรัฐพิธี ราชพิธีของหน่วยงาน
         1.8 ตรวจสอบโครงงานที่หน่วยงานขอรับการสนับสนุนงบประมาณให้เป็นไปตามแบบมาตรฐานของสำนักงานงบประมาณหรือตาม
ที่กฎหมายอื่นๆกำหนด
         1.9 ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย 

2.ฝ่ายป้องกันและปฏิบัติการ
         2.1 วิเคราะห์ สำรวจ และจัดทำฐานข้อมูลด้านสาธารณภัย พื้นที่เสี่ยงภัย สภาพภูมิประเทศและสิ่งก่อสร้างที่อาจเป็นสาเหตุของ
การเกิดสาธารณภัย
         2.2 ควบคุม กำกับ ติดตาม เร่งรัดการปฏิบัติการป้องกัน บรรเทา ฟื้นฟูด้านสารธารณภัยให้เป็นไปตามระเบียบและกฎหมายที่กำหนด
         2.3 ดำเนินการประสานงานด้านวิศกรรมในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในภัยในพื้นที่และประเมินงานโครงการ
         2.4 เฝ้าระวัง รับแจ้งเหตุ รายงาน และติดตามสถานการณ์ภัยตลอด 24 ชั่วโมง ประเิมินและรายงานระดับความรุนแรงขั้นต้นของ
สาธารณภัย รวมทั้งจัดทำประกาศภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน
         2.5 บริหารจัดการให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ฟื้นฟูผู้ประสบภัย กู้ชีพกู้ภัยและสภาพพื้นที่ในสภาวะฉุกเฉิน
(Emergency Management) โดยการบูรณาการจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
         2.6 ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีการสื่อสารของสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด
         2.7 จัดตั้งศูนย์อำนวยการบริหารจัดการศูนย์อำนวยการเแพาะกิจสาธารณภัยในระดับจังหวัด
         2.8 ฝึกซ้อมแผนสาธารณภัย แผนฝึกซ้อมป้องกันภัย แผนเผชิญเหตุ แผนการอพยพประชาชนจากพื้นที่เสี่ยงภัย ให้เป็นไปตาม
ระเบียบและกฎหมายที่กำหนด
         2.9 ประสานการปฏิบัติกัยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาสาสมัคร เครือข่ายภาครัฐภาคเอกชนในพื้นที่ในการป้องกันและบรรเทา
สาธารณภัยระดับจังหวัด
         2.10 เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ในด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
         2.11 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน ประชาชน และเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชนในพื้นที่ในการป้อง
กันและบรรเทาสาธารณภัยระดับจังหวัด
         2.12 สนับสนุนการดำเนินงานของกิจการอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน(อปพร.)และภาคีเครือข่าย
         2.13 ปฏิงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฎิบัติงานที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

3.ฝ่ายสงเคราะห์ผู้ประสบภัย มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
         3.1 ช่วยเหลือ บรรเทาเหตุเบื้องต้น และอพยพผู้ประสบภัย
         3.2 ประสานงาน สนับสนุนการจัดหา จัดสรรทรัพยากรเพื่อการสงเราะห์ผู้ประสบภัย
         3.3 ดำเนินการฟื้นฟูสภาพพื้นที่ประสบภัย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และดำเนินการแก้ไขให้กลับคืนสู่สภาพปกติโดยเร็ว
         3.4 รวบรวม รายงาน และเก็บข้อมูลผู้ประสบภัยตามที่ระเบียนกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการและกฎหมายอื่นๆกำหนด
         3.5 ระบบสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่
         3.6 จัดตั้งและอำนวยการบริหารจัดการศูนย์รับบริจาคเงินและสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัย
         3.7 ติดตามและประเมินผลการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย 
         3.8 ประเมินความเสียหายและให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ขอรับการช่วยเหลือให้เป็นไปตามระเบียบและหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการ
คลังกำหนด
         3.9 ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้
องหรือที่ได้รับมอบหมาย


จำนวนผู้เข้าชมในหน้านี้ 4868 ครั้ง